Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/871
Title: การสกัด การทำให้บริสุทธิ์ และการวิเคราะห์เอกลักษณ์ของโพลิโคซานอลจากไขผึ้ง
Other Titles: Study on planting system, growth and development and production of Ma King
Authors: อนรรฆอร ศรีไสยเพชร, anakhaorn srisaipet
มาโนชย์ ถนอมวัฒน์
Keywords: การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ -- ผลงานวิจัย
โพลิโคซานอล
Issue Date: 2016
Publisher: Maejo University
Abstract: โพลิโคซานอล คือ กลุ่มของแอลกอฮอล์สายโซ่ตรง มีความยาวคาร์บอน 20-36 อะตอม ใช้ ในผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริม ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นสกัดโพลิโคซานอลจากไขผึ้งในเวลาอันรวดเร็วโดยใช้ พลังงานจากไมโครเวฟในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลเซชัน โดยขั้นตอนแรกทําการล้างไขผึ้งด้วยเฮ กเซนร้อน และตามด้วยการล้างด้วยไอโซโพรพานอลร้อน เพื่อเป็นการกําจัดไตรกลีเซอไรด์ นําไขผึ้งที่ ปราศจากไตรกลีเซอไรด์มาทําปฏิกิริยาไฮโดรไลเซซันโดยมีสารละลายเบสโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เข้มข้น 0.5 โมลาร์ ที่ละลายใน 80 % เอทานอล เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยใช้แหล่งพลังงานจากไมโครเวฟที่ กําลังไฟฟ้า 100 วัตต์ นาน 5 นาที ซึ่งทําให้ไขผึ้งเกิดการไฮโดรไลซ์อย่างสมบรูณ์ ได้เป็นแอลกอฮอล์สายยาว (โพลิโคซานอล) และกรดไขมันสายยาว ตรวจสอบได้โดยใช้เทคนิคโครมาโทกราฟีแบบผิวบาง (TLC) จากนั้น เป็นการทําให้โพลิโคซานอลบริสุทธิ์ โดยการล้างด้วยตัวทําละลายอินทรีย์ผสมหลายชนิดที่อัตราส่วนต่างๆ และตามด้วยการทําให้ตกตะกอนภายใต้อุณภูมิต่ําเพื่อกําจัดกรดไขมันสายยาว ซึ่งการตรวจสอบกรดไขมันทํา โดยใช้เทคนิค TLC และเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) สําหรับการวิเคราะห์ องค์ประกอบของโพลิโคซานอลทําโดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี (GC) ซึ่งพบว่าประกอบด้วยแอลกอฮอล์ที่ มีความยาวคาร์บอนตั้งแต่ 20-28 และ 32-34 อะตอม โพลิโคซานอลที่สกัดได้จากไขผึ้งสีขาวที่ผ่านการสกัด โดยการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลเซชันด้วยพลังงานไมโครเวฟและทําให้บริสุทธิ์ มีปริมาณร้อยละผลผลิตเท่ากับ 16.96 และจากไขผึ้งสีเหลืองที่ผ่านการทําให้บริสุทธิ์มีปริมาณร้อยละผลผลิตเท่ากับ 10.87
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/871
Appears in Collections:SCI-Bachelor’s Project

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anakhaorn_srisaipet.pdf94.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.