Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/912
Title: EFFECTS OF HERBAL EXTRACTS ON GROWTH COLORATION IMMUNE SYSTEM MARKETING AND PROCESSING SYSTEM TO INCREASE THE VALUE OF THE Hoplobatrachus rugulosus  
ผลของอาหารผสมสมุนไพรที่มีต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มสี ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการตลาดและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของกบนา Hoplobatrachus rugulosus
Authors: Rujiraphorn Musigapan
รุจิราภรณ์ มุสิกะพันธ์
Chanagun Chitmanat
ชนกันต์ จิตมนัส
Maejo University. Fisheries Technology and Aquatic Resources
Keywords: กบนา
การเจริญเติบโต
ภูมิคุ้มกัน
ผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์แปรรูป
Frog
Growth performances
Innate immunity
Frog consumer
frog processed products
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: The effects of herbal extracts on growth, coloration, innate immune responses, marketing and processing system to increase the value of the Hoplobatrachus rugulosus was carried out. This research was divided into 2 studies: 1) The effects of herbal supplementary diet on growth performances, coloration, and non-specific immunity; and 2) The research on the adoption behavior and attitudes towards processed frog products to guide the creation of a new business (Startup) and a guide to produce safety food. The first research, the influences of Pueraria mirifica, Curcuma longa and Musa sapientum Linn extracts on growth performances, coloration, and innate immunity of tadpole and frog were investigated. The completely randomized design (CRD) was applied with 10 sets of treatments including control (T1), feed mixed with Pueraria mirifica extract 10, 20, 30 ml/kg feed (T2-T4), feed mixed with Curcuma longa extract 10, 20, 30 ml/kg feed (T5-T7) and feed mixed with Musa sapientum Linn 10, 20, 30 ml. /kg feed (T8-T10). Frogs were fed 5% of the body weight / day, twice a day. Growth performances, immunity and coloration were determined after 8 weeks. The results showed that tadpoles received 10 ml/kg feed Curcuma longa extracts had significantly higher weight gain and the average daily growth rate (P<0.05) than the control group which were 35.30 ± 0.01 g and 0.588 ± 0.01 g / frog / day, respectively. Referring to the experiments in the young frog phase, frogs received 10 ml/kg feed of Curcuma longa extracts were significantly higher final weight, weight gain, and weight gain per day than the control group (P<0.05), which were 140.00 ± 0.93 g, 133.77 ± 0.54 g and 2.23 ± 0.01 g / fish / day, respectively. The lysozyme activity and phagocytosis by NBT of frogs received 10 ml/kg feed of Curcuma longa extracts were higher than the control group which were equal to 3.15 ± 0.21 and 0.26 ± 0.11 µg ml, respectively. As a result, frogs possibly had the resistance against Aeromonas hydrophila and Flavobacterium sp. infection. The changes in skin color and flesh color of the frogs (L * a * b *) that received 10 ml/kg feed of Musa sapientum Linn extract were higher than the control group which were 83.63 ± 4.41, 6.01. ± 7.98 and 6.91 ± 2.65. According to these research results, it can be concluded that 10 ml/kg feed of Curcuma longa and Musa sapientum extracts had positive effects on growth performances, innate immunity responses, and color change of frogs. Subsequently, frogs had the resistance against Aeromonas hydrophila and Flavobacterium sp. infection. The second research, the adoption behavior and attitude towards processed frog products, frog processing guideline as well as frog meat menu development were studied to guide the creation of a new business (Startup) and a guideline for producing safety food. This research was conducted by collecting primary information and secondary data from 100 questionnaires; after the respondents had tasted the processed frog products, they answered questions. The 6-page questionnaire was a tool in the study consisting of part 1, personal characteristics of consumers of processed frog products in Chiang Mai Province; part 2, information about purchasing behaviors of processed frog meat; Part 3, Consumer knowledge and understanding of processed frog products; Part 4, information about consumer attitudes of processed frog products; Part 5, Sensory Test, Quiz 9 - Point Hedonic Scale; Part 6, Ranking Preference Test; and Part 7, comments and recommendations. The data collected from the questionnaire were quantitatively analyzed for statistical analysis. Results from the sample groups in Chiang Mai whom most of them were females; aged between 41-50 years, obtained a bachelor's degree with an average monthly income of 10,001 - 15,000 baht and were single showed the majority of consumers bought processed frog products from the markets to consume at homes. They usually purchased them 2-3 times a week. It costed approximately 100-150 baht. The main reason for frog consumption was frog flesh contained valuable nutrients including high protein and low fat. The main reason for those who have never eaten frog products was a scary frog image. Consumers had knowledge and understanding about how to develop frog products in the moderate level. According to consumer attitude analysis of frog products to the marketing mix, it was found that consumers gave the major priority to product forms. Most sample consumers ranked the highest overall preference to a grilled frog with herb. Referring to the potential analysis and strategic management of frog farming (SWOT Analysis): a case study of happy frog farm, Doi Saket District, Chiang Mai province, it was found that there was a potential and a good strategic management of frog farming. This farm is able to set up a comprehensive learning center for frog cultivation and processing. The frog culture and its processing is one of the most security professions that generates stable income for farmers to self-development and community development which further strengthening the national development.
การศึกษาผลของอาหารผสมสมุนไพรต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มสี ภูมิคุ้มกัน การตลาดและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าของกบนา แบ่งเป็น 2 การวิจัย คือ 1) ผลของอาหารผสมสมุนไพรที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การเพิ่มสี ภูมิคุ้มกัน และ 2) วิจัยพฤติกรรมการยอมรับและทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบนา เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างธุรกิจใหม่ (Startup) และเป็นแนวทางในการทำอาหารปลอดภัย เชิงอุตสาหกรรมในอนาคต การวิจัยที่ 1 เป็นการทดสอบอาหารผสมสมุนไพร (กล้วยน้ำว้า ขมิ้นชัน กวาวเครือ) เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ (ค่าสีผิวหนังและสีเนื้อกบ) ภูมิคุ้มกันและความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรียของกบนา (ระยะลูกกบและกบเนื้อ) โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอดสมบูรณ์ (Completely randomized design, CRD) แบ่งการทดลองเป็น 10 กลุ่มการทดลอง ให้อาหาร 5% ของน้ำหนักตัว/วัน วันละ 2 ครั้ง  ประเมินสมรรถภาพการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังและสีเนื้อ โดยใช้ระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์  ผลการศึกษา พบว่า ลูกกบนาที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน 10 มล. ต่ออาหาร 1 กก. มี ค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) มีค่าเท่ากับ 35.30±0.01 กรัม และ 0.588±0.01 กรัม/ตัว/วัน ส่วนการทดลองในระยะกบเนื้อ กบนาที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน 10 มล. ต่ออาหาร 1 กก. มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 140.00±0.93 กรัม, 133.77±0.54 กรัม และ 2.23±0.01 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ กบนาที่ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน 10 มล. ต่ออาหาร 1 กก. มีค่ากิจกรรมไลโซไซม์ และค่า Phagocytosis โดยวิธีการ NBT สูงกว่ากลุ่มควบคุม มีค่าเท่ากับ 3.15±0.21 และ 0.26±0.11 µg/ml อีกทั้งยังส่งผลให้กบมีความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila และเชื้อแบคทีเรีย Flavobacterium sp. และกบนาที่ได้รับสารสกัดกล้วยน้ำว้า 10 มล. ต่ออาหาร 1 กก. ต่อค่าการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังและสีเนื้อของกบนา (L* a* b*) สูงกว่ากลุ่มควบคุม มีค่าเท่ากับ 83.63±4.41, 6.01±7.98 และ 6.91±2.65 จากผลการศึกษาวิจัย สรุปว่า สารสกัดขมิ้นชันและกล้วยน้ำว้า 10 มล. ต่ออาหาร 1 กก. มีผลดีต่อการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงสีของกบนา อีกทั้งยังส่งผลให้กบมีความสามารถในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila และเชื้อแบคทีเรีย Flavobacterium sp. การวิจัยที่ 2 ศึกษาพฤติกรรมการยอมรับและทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบนา การพัฒนาเมนูอาหารจากเนื้อกบ แนวทางในการสร้างธุรกิจใหม่ (Startup) และเป็นแนวทางในการทำอาหารปลอดภัยในเชิงอุตสาหกรรมในอนาคต โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ จากแบบสอบถามจำนวน 100 ชุด แก่กลุ่มตัวอย่าง โดยให้กลุ่มตัวอย่างทดสอบชิมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบแล้วตอบแบบสอบถาม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามจำนวน 6 หน้า แบ่งออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบ ส่วนที่ 3 ข้อมูลความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อ ส่วนที่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบ ส่วนที่ 5 แบบทดสอบทางประสาทสัมผัส แบบทดสอบ 9 – Hedonic Scale ส่วนที่ 6 แบบสอบถาม Ranking Preference Test และ ส่วนที่ 7 การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ จากการศึกษาพบว่า พบว่า กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาทต่อเดือน และมีสถานภาพโสด เมื่อสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบที่ตลาด มารับประทานที่บ้าน โดยซื้อเฉลี่ยประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 100 - 150 บาท โดยเหตุผลหลักของการบริโภคกบคือเนื้อกบ มีคุณค่าทางสารอาหาร โปรตีนสูง  ไขมันต่ำ สำหรับผู้ที่ไม่เคยรับประทานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบ ให้เหตุผลหลักคือ ภาพลักษณ์ของกบที่น่ากลัว ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกบที่นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบ อยู่ในระดับปานกลาง และจากการวิเคราะห์ทัศนคติของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อกบ ต่อส่วนประสมทางการตลาด พบว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องของผลิตภัณฑ์มากที่สุด และผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จัดอันดับให้ กบปิ้งสมุนไพร เป็นความชอบโดยรวมลำดับที่หนึ่ง จากการวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการเชิงกลยุทธ์การเพาะเลี้ยงกบ (SWOT Analysis) กรณีศึกษา ฟาร์มกบอารมณ์ดี อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีศักยภาพและการจัดการเชิงกลยุทธ์การเพาะเลี้ยงกบอย่างดี สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเพาะเลี้ยงและแปรรูปกบนาอย่างครบวงจร การเพาะเลี้ยงและแปรรูปกบนา สามารถเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างมั่นคงกับเกษตรกร เพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน จนถึงการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Fisheries Technology and Aquatic Resources))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/912
Appears in Collections:Fisheries Technology and Aquatic Resources

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110501002.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.