Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/923
Title: GUIDELINES FOR DEVELOPING EDUCATIONAL  FACILITATION WHICH IS CONSISTENT WITH  GEO-CULTURE: A CASE STUDY OF  HIGHLAND SCHOOL IN  CHIANGMAI PROVINCE
แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม  กรณีศึกษา โรงเรียนในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
Authors: Terdpitak Janlohit
เทอดพิทักษ์ จันทร์โลหิต
Chalermchai Panyadee
เฉลิมชัย ปัญญาดี
Maejo University. School of Administrative Studies
Keywords: พื้นที่สูง
ภูมิวัฒนธรรม
องค์ประกอบ
การประเมินคุณภาพ
highland
geo-culture
element
quality assessment
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to: 1) develop elements of quality assessment of the educational facilitation by highland schools in Chiang Mai province which was consistent with geo-culture; 2) investigate efficiency in the educational facilitation of the highland schools; 3) explore factors effecting the efficiency in the educational facilitation of the highland schools; and 4) propose guidelines for the educational facilitation of the highland schools.  This study employed mixed method: quantitative and qualitative methods.  The latter employed interview and focus group discussion among 22 specialists or knowledgeable persons in highland educational facilitation.  Results of the study were as follows: 1) The most important thing for the development of elements of quality assessment of the educational facilitation by highland school which was it must be consistent with contexts of the area, community and ethnic group.  Also, the curricular program, teaching and learning, and assessment must be consistent with the area contest.  The schools must be managed by itself and able to adjust its core curriculum for appropriateness. Importantly, the school committee must be strong and guardians/community must participate in school management. 2) There was the difference in levels of effectiveness in the educational facilitation by the highland schools.  This was on the basis of the following: knowledge, basic skills, life skills, and good attitude towards career based on local context, respectively and all of these were found at a high level.  This was followed by a good model for the society in terms of livelihoods, transformation literacy, transformation adaptation, application of knowledge for community development, capability in innovation creation in the local dimension and learning achievement, respectively which all of these were also found at a high level.  The following were at a moderate level: computation ability under readiness maturity and age and appropriateness of the learner with the local context, capability in communication through the dialect, information technology using, digital communication literacy, analytical thinking, critical thinking, opinion exchange and problem solving, respectively. 3) The following were factors effecting the effectives in the educational facilitation of the highland schools in different levels: clear and concise project goals which met needs for development; clear program planning on the educational facilitation and it was consistent with geo-culture; clear monitoring and assessment, needs for being a juristic person and decentralization, respectively.  All of these were found at a high level. 4) The guidelines for highland school management were consistent with cultural landscape and it passed system theory connection.  It was used as a basis due to appropriateness under context and cultural landscape via systematic approach. This comprised the following: 1) input factor i.e. School committee, school administrator, teacher, student, curriculum, budget and teaching/learning support material; 2) process i.e. Managerial administration, curriculum development, teaching operation, inspection and strengthening the foundation, enhancement of study readiness, and teaching technique; and 3) outcome i.e. academic achievement, desired characteristics, appropriate values, cognitive/affective/psychomotor domain of the learner, and feed back in the form of assessment.
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) พัฒนาองค์ประกอบการประเมินคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม  กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่  2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม  กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม  กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อเสนอแนวทางการในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม  กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่  ผู้วิจัยได้กำหนดหลักการวิจัยแบบผสมผสาน  โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีหลักในการตอบคำถาม  การวิจัยและเพื่อให้เกิดความชัดเจนของข้อมูล จึงใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นวิธีเสริม  คำแนะนำจากการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่สูง จำนวน 22 ท่าน และการสัมภาษณ์ ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ และผู้เชียวชาญ ด้านการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง จำนวน 22  ท่าน นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ตกผลึกในการพิจารณาและกำหนดตัวชี้วัด  เกณฑ์องค์ประกอบการประเมินคุณภาพ   ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาองค์ประกอบการประเมินคุณภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม สิ่งสำคัญที่สุดต้องจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่  ชุมชนและชาติพันธุ์  ต้องมีหลักสูตรการเรียนการสอน  วัดและประเมินผล  ที่สอดคล้องกับบริบทถือว่าเป็นกลุ่มเฉพาะ  สามารถปรับใช้หลักสูตรแกนกลางได้  ต้องให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการตนเองได้  ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง  ต้องให้ผู้ปกครอง  ชุมชน  มีส่วนร่วมในการบริหารอย่างเต็มที่ เต็มใจเต็มความสามารถ และควรมีเกณฑ์เฉพาะที่สอดคล้องกับสภาพบริบท  และส่งเสริมผู้เรียนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์  ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวโดยมีแนวทางการจัดการศึกษา 2) ประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม อยู่ในระดับที่แตกต่างกัน  โดยเรียงจากระดับมากไปน้อย ดังนี้  มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน ทักษะชีวิต และเจตคติที่ดีต่องานงานอาชีพ ตามบริบทของท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มีทักษะชีวิต มีการดำรงชีวิตเป็นตัวอย่างในสังคม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ  มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ที่มีมิติท้องถิ่น เช่น โครงงานคุณธรรม เน้น สร้างคนดี, โครงงานวิชาการ, โครงงานอาชีพ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยการอิงสมรรถนะของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ  มีความสามารถคิดคำนวณได้ตามวุฒิภาวะความพร้อม ช่วงวัย ความเหมาะสมกับผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ มีความสามารถนำเอาภาษาถิ่น ไปสื่อสารเพื่อพัฒนา การอ่าน การเขียน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้าน Digital Communication  literacy ความรอบรู้ด้านการสื่อสารดิจิทัล อยู่ในระดับปานกลาง  รองลงมาคือ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาได้ตามความเหมาะสมของศักยภาพของผู้เรียน  อยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม ในระดับที่แตกต่างกัน  โดยเรียงจากระดับมากไปน้อย  ดังนี้ โรงเรียนมีโครงการที่ชัดเจนตรงตามการแก้ไขปัญหาและความต้องการพัฒนาที่สอดคล้องกับ บริบทตนเอง อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนมีแผนงานที่ชัดเจนด้านการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม ในเชิงพื้นที่ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนด้านการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม ในเชิงพื้นที่ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนมีการติดตามประเมินผลชัดเจน และต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ โรงเรียนมีความต้องการอิสระ เป็นนิติบุคคล การกระจายอำนาจ เพื่อการจัดการศึกษาที่สอดคล้องภูมิวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก 4) แนวทางการจัดการศึกษาสถานศึกษาบนพื้นที่สูงที่สอดคล้องกับภูมิวัฒนธรรม เป็นแนวทางที่ผ่านการเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ (System Theory) มาเป็นฐาน เพื่อความเหมาะสมตามบริบทและภูมิวัฒนธรรม โดยวิธีระบบ (Systematic approach) ซึ่งมีส่วนประกอบคือ 1. ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร งบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 2. กระบวนการ ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร การดำเนินการสอน การตรวจสอบและการเสริมสร้างพื้นฐาน การเสริมความพร้อมในการเรียน และการมีเทคนิคการสอน 3. ผลลัพธ์ คือ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านวิชาการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ค่านิยมที่เหมาะสม ด้านพุทธิพิสัย  ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัยของผู้เรียน และข้อมูลย้อนกลับที่เป็นลักษณะของการประเมินผล
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Administrative Science))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารศาสตร์))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/923
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5905501002.pdf5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.