Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/938
Title: FOOD SECURITY MODEL- BASED DEVELOPMENT AT THE HOUSEHOLD LEVEL OF FARMERS IN KHAM DISTRICT, XIENGKHOUANG PROVINCE, THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC
การพัฒนารูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกรในเขตเมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว
Authors: Khantavanh Phomlasaboud
Khantavanh Phomlasaboud
Phutthisun Kruekum
พุฒิสรรค์ เครือคำ
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: รูปแบบ
การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ครัวเรือนเกษตรกร
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Model
Food security Creation
farmers’ household
Lao PDR
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this research were to study the levels of the implementation of knowledge about food security, attitude of the farmers and creating food security, the factors affecting the implementation of knowledge, attitude and creating food security in the household level of farmers and This study aimed to investigate problems encountered and guidelines for developing Model food security Creation at the household level in Kham district, Xiengkhouang province, Lao People’s Democratic Republic. The samples of 279 farmers were selected using Two-Stage Sampling method. Questionnaires were used to collect sample data and the sample data were analyzed for descriptive statistics as frequency, percentage, mean, minimum, maximum and standard deviation. And Data were collected through questionnaire covering 4 aspects of the United Nation Food and Agriculture Organization. Besides, focus group discussion was conducted with 8 personnel of the local administrative Organization and 8 food security specialists who were coordination of city and District Nutrition Project and Agriculture 8 forestry office of Kham District, Xiengkhouang province, Lao P.D.R. Results of the study revealed that most of the respondents (53.2) were Female, 42.93 years old on average, married, and elementary school graduates and below. The respondent had 6 family members, 3 household workforces, 10.66 rai of farming area, an income earned from Agriculture of 30,2525.46 baht on average, extra income earned of 11,059.13 baht on average, expenses in the family of 25,802.92 and . In their community they were members of 4 community groups and they contracted agricultural staff on average twice a year. The respondents participated in agricultural activities/traditions 1.32 times per year and agricultural training/educational trips in farming twice a year. They perceived data on farming in accordance with the philosophy of sufficiency economy on average 19.22 times per month. The respondents had a moderate level of knowledge about household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy. However, their attitude towards household faming in accordance with the philosophy of sufficiency economy was a high level of agreement. They had a moderate level of household farming practice in accordance with the philosophy of sufficiency economy Results of the of factors effecting the knowledge about food Security at the household level. Agricultural area, incomes earned from the agricultural sector and perception about food security had a positive effect on the knowledge about food security at the household only a number of household number had negative effect on it, The results of the study have shown that, Whereas the factors associated with the attitude towards creating food security of farmers in the household level as agricultural incomes, expenditure, farmer’s knowledge and the access to information of farmers for creating food security were identified with statistical significance of p-value of 0.01. other incomes and participating in a training were identified with statistical significance of p-value of 0.05 and The maximum average value of the levels of the implementation was food utility, and food accessibility, food availability and food stability, respectively. Whereas factors associated with the implementation towards creating food security of farmers in the household level were identified with 8 variables had statistical significances, by with 6 variables were identified as positive: education level P=.013, Agricultural incomes P=.000, Extra/additional incomes P=.017, participating in a project/activity pertaining food security P=.011, knowledge about creating food security and attitude of farmers about food security P=.000. While the other 2 variables were identified as negative: expenditure P=-.005   Results of the study revealed that more than one-half (83.9%) of the respondent had a high level of the problem in food security at the household level. The following 2 problems were found at a high level: lack of the Capital for farming (41.9%) and Clean water supply for Consumption and farming (38.4%), However the problem in having a farming area was found at a low level (3.9%) and no problem (15.8%)           Focus group discussion related to guidelines for the Management of the problem in food security creation at the household level, this included the following: 1) Management of food availability through capital source creating, crop varieties and animal breed allocation, water supply Management and protection and land holding allocation; 2) Management of the problem in access to food; 3) Management of the problem in food utilization through a training an knowledge about food nutrition; and 4) Management of the problem in food stability particularly an knowledge transfer about food processing technology  The findings also showed that there are Five important elements of the model, which consists of 1) the government agency 2) the members/the leaders, 3) goals/objectives, 4) activities and 5) community funding. That all aspects were evaluated and approved. 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฎิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร และเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกรในเมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรเมืองคำ แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 279 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการจัดสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.93 ปี มีสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ส่วนใหญ่มีชาติพันธุ์เป็นลาวลุ่ม มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 10.66 ไร่ มีรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 30,2525.46 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 11,059.13 บาทต่อปี มีรายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 25,802.92 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินเฉลี่ย 2,179.82 บาท ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชนเฉลี่ย 4 กลุ่ม เข้าร่วมฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานเฉลี่ย 1.32 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรเฉลี่ย 19.22 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลาง  (ร้อยละ 56.6) เกษตรกรมีทัศนคติต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18)  และกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรมีระดับการปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับการปฏิบัติปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.46) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกไปทางเดียวกันกับความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ รายได้จากภาคการเกษตร และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่วนพื้นที่ทำการเกษตรมีความสัมพันธ์ทางบวกไปทางเดียวกันกับความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน 6 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ รายได้จากภาคการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร รายได้นอกภาคการเกษตร และการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ในขณะที่ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ได้แก่ รายจ่ายในครัวเรือน และผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน 8 ตัวแปร โดยเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกจำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้จากภาคการเกษตร รายได้นอกภาคการเกษตร การได้เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ความรู้เกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบมีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ รายจ่ายในครัวเรือน และภาระหนี้สิน ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกรพบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรตัวอย่าง (ร้อยละ 83.9) มีปัญหาอุปสรรคในด้านการมีอาหารถึงพร้อมอยู่ในระดับมากในด้านนี้ยังพบปัญหาอุปสรรคย่อยที่อยู่ในระดับมากที่มีปัญหาทางด้านการไม่มีทุนทำการเกษตร (ร้อยละ 41.9) ปัญหาย่อยรองลงมาคือ การมีแหล่งน้ำสะอาดเก็บไว้เพื่อบริโภคและทำการเกษตร (ร้อยละ 38.4) ส่วนการมีพื้นที่จะมีปัญหาอุปสรรคน้อยมาก (ร้อยละ 3.9) และเกษตรกรไม่มีปัญหาอุปสรรคเลย  (ร้อยละ 15.8)  ผลการจัดเวทีเพื่อระดมความคิดเห็นแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยผ่านการจัดสนทนากลุ่มพบว่า แนวทางการจัดการปัญหาด้านการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกร โดยใช้องค์ประกอบของความมั่นคงด้านอาหาร ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นฐานมีจำนวนทั้งหมด 4 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) แนวทางการจัดการปัญหาด้านการมีอาหารถึงพร้อม โดยการสร้างแหล่งทุน มอบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร การคุ้มครองแหล่งน้ำ และการจัดสรรพื้นที่ถือครองให้แก่ครัวเรือน 2) แนวทางการจัดการปัญหาด้านการเข้าถึงอาหาร 3) แนวทางการจัดการปัญหาด้านการใช้ประโยชน์ของอาหาร โดยการจัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ทางโภชนาการทางอาหารให้แก่เกษตรกร  และ 4) แนวทางการจัดการปัญหาด้านความมีเสถียรภาพของอาหาร โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนเกษตรกรประกอบด้วย 1) การสร้างอาหารให้มีเพียงพอระดับครัวเรือน 2) การสร้างให้ครัวเรือนเกษตรกรเข้าถึงอาหาร 3) เพิ่มความรู้แก่เกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากอาหาร 4) เพิ่มความมีเสถียรภาพทางอาหารระดับครัวเรือน และ องค์ประกอบในการขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ 2) เกษตรกรผู้นำ 3) วัตถุประสงค์เป้าหมาย 4) กิจกรรมโครงการ และ 5) แหล่งทุนที่ใช้ในการดำเนินการ ซึ่งผลการประเมินการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร ในเขตเมืองคำ โดยรูปแบบได้ผ่านการประเมินและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินในทุกด้านสามารถนำไปใช้ได้
Description: Docter of Philosophy (Doctor of Philosophy Resources Development and Agricultural Extension))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/938
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201532009.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.