Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/94
Title: READINESS AND STRATEGIES FOR FARM STAY DEVELOPMENT IN SAMOENG DISTRICT, CHIANG MAI
ความพร้อมและกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ในพื้นที่ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Peeraphon Rattanakom
พีรพนธ์ รัตนคม
Bongkochmas Ek - Iem
บงกชมาศ เอกเอี่ยม
Maejo University. School of Administrative Studies
Keywords: ฟาร์มสเตย์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
กลยุทธ์
farmstay
agro tourism
strategies
Issue Date: 2019
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to explore tourism situations, readiness of farmstay entrepreneurs, and process to good practice method of farmstay activities, as well as to propose a strategic plan for developing farmstay tourism in Samoeng District, Chiang Mai province. Research instruments in this study were questionnaire, interview schedule, and focus group discussion. The sample group in this study included 325 farmers, 3 farmstay entrepreneurs, and personnel of concerned agencies in the area. Results of the study were: 1) Tourism situations in Chiang Mai made Samoeng be more popular than before. Hence, than were 2 dimensions of a tourism policy-development of basic infrastructure to accommodate tourism and promotion of non-toxin agriculture/natural tourism in Samoeng. Regarding readiness of those who were interested in farmstay business, it was found that the informants put the importance on the following most: physical and biological quality, values of body of knowledge, innovation, and wisdoms, management potential, readiness foe the provision of servicer, potential in tourism attraction. 2) Regarding the exploration of 3 farmstays in terms of the following: clear organization vision mission and appropriate management, predominant raw materials could be processed diversely, the process of knowledge transfer was in the form of mental learning; efficiency in task performance of guides, relaxation could be done by natural for therapy activities of farmstay, and development of a guideline for unlimited framing respectively. 3) The researcher determined 6 strategies as a guideline for developing farmstay tourism development in Samoeng: 1) strategy promoting the original cost; 2) infrastructure development strategy; 3) tourism development strategy; 4) participation strategy 5) strategic management in marketing, public relations and advertising; and 6) strategy on agro-tourism leader group tourism.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวและความพร้อมของผู้ที่สนใจประกอบกิจการฟาร์มสเตย์ รวมไปถึงศึกษาถึงกระบวนการวิธีการปฏิบัติที่ดีของกิจการฟาร์มสเตย์ และเสนอแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ในพื้นที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม โดยใช้เครื่องมือได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และจัดทำการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาคือ ผู้ถือครองพื้นที่ทำการเกษตรในอำเภอสะเมิงจำนวน 325 คน เจ้าของกิจการฟาร์มสเตย์ที่ดีที่สุดในพื้นที่ 3 แห่ง และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์การท่องเที่ยว หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภาคเหนือจึงส่งผลให้อำเภอสะเมิงได้รับความนิยมมากกว่าในอดีต จึงได้มีนโยบายด้านการท่องเที่ยวใน 2 มิติคือ 1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 2. ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวในอำเภอสะเมิงให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและเกษตรปลอดสารพิษ ความพร้อมของเกษตรกรในการประกอบกิจการฟาร์มสเตย์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญและควรมีความพร้อมมากที่สุดอันดับคือ คุณภาพทางกายภาพและชีวภาพ คุณค่าด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญา ศักยภาพการบริหารการจัดการ ความพร้อมในการให้บริการ ศักยภาพการดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ตามลำดับ 2) ในการศึกษาฟาร์มสเตย์ทั้ง 3 แห่ง พบว่ากระบวนการวิธีการปฏิบัติที่ดีที่มีร่วมกันและเหมือนกัน ได้แก่ 1) ผู้นำมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กรอย่างชัดเจน การบริหารจัดการที่มีความเหมาะสม 2) วัตถุดิบที่โดดเด่นสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย 3) กระบวนการถ่ายทอดความรู้เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน 4) ความมีประสิทธิภาพของมัคคุเทศก์ในการนำเที่ยว 5) ผ่อนคลายด้วยกิจกรรมธรรมชาติบำบัดของฟาร์มเกษตร และ 6) มีการพัฒนาแนวทางการทำเกษตรแบบไร้ขีดจำกัด 3) ผู้วิจัยกำหนดกลยุทธ์เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในพื้นที่อำเภอสะเมิง แบ่งเป็น 6 กลยุทธ์ดังนี้ 1) กลยุทธ์ส่งเสริมต้นทุนเดิม 2) กลยุทธ์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) กลยุทธ์พัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว 4) กลยุทธ์การมีส่วนร่วม 5) กลยุทธ์การจัดการด้านการตลาดการประชาสัมพันธ์และโฆษณา และ 6) กลยุทธ์ด้านภาวะกลุ่มผู้นำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบฟาร์มสเตย์
Description: Master of Public Administration (Master of Public Administration (Public Policy and Public Management))
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายและการบริหารสาธารณะ))
URI: http://10.1.245.54/dspace/handle/123456789/94
Appears in Collections:School of Administrative Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5805304003.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.