Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1172
Title: การสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คลองปากปิด ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: Value creation in ecotourism for community entrepreneurs :Klong Pak Pid Pongprasas sup-district, Bangsapan, Prachuab Khiri Khan province
Authors: มุกดา อุ่นกาย
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงประมาณ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก กับผู้นำชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปิด จำนวน 5 คน และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบการชุมชนคลองปากปิด จำนวน 7 คน วิจัยเชิงประมาณ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 250 ตัวอย่าง การวิเคราะห์วิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้หลักการจำแนกข้อมูล เรียบเรียงข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นแบบสรุปอุปนัย ส่วนการวิเคราะห์วิจัยเชิงประมาณ โดยใช้สถิติในการทดสอบสมมติฐาน คือ One way ANOVA T-test และ Fisher’s Least-Significant Difference ในการเปรียบเทียบรายคู่ ผลวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบการอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวเพื่อผักผ่อนเที่ยวชมอนุรักษ์ธรรมชาติ มีจำนวนสมาชิกเดินทางมาท่องเที่ยวด้วยจำนวน 4-6 คน นิยมเดินทางมาท่องเที่ยววันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อน ทำให้ตัดสินใจมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด เดินทางมาท่องเที่ยวโดยใช้ยานพาหนะรถยนต์ส่วนตัว ความถี่ในการเดินทางมาท่องเที่ยว 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่ำกว่า 500 บาท/ครั้ง สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการผ้ามัดย้อม จากเปลือกโกงกาง และคิดว่าจะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1 ครั้งภายใน 1 ปี การสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด มีระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญมีความหลากหลายของการจัดกิจกรรม เช่น พายเรือคายัค ทำผ้ามัดย้อม ตลาดนัดประชารัฐ เป็นต้น เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิดเป็นอย่างมาก ด้านบริการนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญมาตรฐานการให้บริการอย่างเป็นระบบ ความรวดเร็วและถูกต้อง ในการชำระเงิน เป็นการต้อนรับและให้ความอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ด้านบุคลากรนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในระดับมาก โดยให้ความสำคัญเจ้าหน้าที่มีความชำนาญด้านเส้นทางและความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เป็นคนในพื้นที่ จะมีความชำนาญในเส้นทางอย่างมาก ด้านภาพลักษณ์นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิดมีการดูแลนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี จะไม่มีการปล่อยให้นักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เหตุอันตราย จะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลทั่วไปของนักท่องเที่ยวเพศชายเพศหญิง ไม่มีผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ซึ่งต่างจากช่วงอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ มีผลต่อการสร้างการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการชุมชนสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองปากปิด ที่ระดับนัยสำคัญ0.05
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1172
Appears in Collections:Engineering and Agro - Industry

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mookda_Aunkay.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.