Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1213
Title: READINESS PREPARATION TO COPE WITH DISASTER OF FARMERS IN CHANG KHOENG SUB-DISTRICT,MAE CHAEM DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของเกษตรกรตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Lawan Unchun
ลาวัณย์ อุ่นจัน
Saisakul Fongmul
สายสกุล ฟองมูล
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ
เกษตรกร
ตำบลช่างเคิ่ง
Disaster preparedness
Farmer
Chang Khoeng sub-district
Issue Date: 2022
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate: 1) socio-economic attributes of farmers growing crops in Chang Khoeng sub-district, Mae Chaem distrct, Chiang Mai province; 2) readiness of the farmers to cope with natural calamities; 3) factors effecting the readiness of the farmers to cope with natural calamities; and 4) problems encountered and suggestions about the readiness.  The sample group consisted of 199 farmers in Moo 5, 6, 8, 15 and 16 of Chang Khoeng sub-district and they were obtained by multi-stage sampling.  A set of questionnaires was used for data collection and analyzed by using descriptive statistics and multiple regression. Results of the study revealed that more than one-half of the respondents were male (62.3%), 51-60 years old on average (40.8%), elementary school graduates (77.9%) single (73.4%) and they had 4.6 household members (55.3%).  Most of the respondents (46.23%) there was 5 rai of agricultural land.  Their monthly income range was 1,000-5,000 baht (61.3%) with a debt range of 100,001-500,000 baht (36.7%).  The respondents had been living in their respective communities for 48 years on average.  Most of them were not members of communities organization (86.4%) and they perceived news about natural calamities through television 19 times per month on average.  Most of them had never contacted concerned government officials about natural calamities (77.3%) or even a raining/educational trip related to disaster preparedness (97.5%). Based on before, after and during natural calamities, a whole, the respondents were ready at a moderate level. Training/educational trip and concerned government official contact had a positive effect on the readiness preparation.  Only time span of living in the community and agricultural land was found to have a negative effect.  The following were problems encountered 1) lack of readiness preparation to cope with natural calamities; 2) lack of supporting budgets to prevent soil erosion; and 3) late assistance when confronting natural calamities.  For suggestions, it included the following: 1) holding a training to cope with natural calamities; 2) the public sector should assist offer financial assistance to farmers facing natural calamities; and 3) the public sector should have an appropriate measure for readiness preparation to cope with natural calamities.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติของเกษตรกร  3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของเกษตรกรตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่อยู่ในหมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 8 หมู่ 15 และ หมู่ 16 ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 199 คน ซึ่งได้จาก วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.3 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 40.8 การศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 77.9 สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.4 มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ร้อยละ 55.3 มีพื้นที่ทำการเกษตร 5 ไร่ ร้อยละ 46.23 มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 1,000-5,000 บาท ร้อยละ 61.3 เกษตรกรมีหนี้สินระหว่าง 100,001-500,000 บาท ร้อยละ 36.7 เกษตรกรมีระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่/ชุมชนเฉลี่ย 48 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เป็นสมาชิกองค์กรชุมชน ร้อยละ 86.4 เกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติทางโทรทัศน์ ค่าเฉลี่ย 19 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรไม่เคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับภัยพิบัติ ร้อยละ 77.9 เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมหรือศึกษาดูงานเกี่ยวกับภัยพิบัติ ร้อยละ 97.5 การศึกษาการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ก่อนเกิดภัยพิบัติ ระหว่างเกิดภัยพิบัติและหลังเกิดภัยพิบัติ ในด้านกายภาพ ด้านครอบครัว ด้านชุมชน และด้านนโยบายภาครัฐ ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่าเกษตรกรมีการเตรียมความพร้อมระดับปานกลาง ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญมีจำนวน ทั้งหมด 4 ตัวแปร โดยจำแนกเป็นตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่มีผลในเชิงบวก คือ การฝึกอบรม/ศึกษาดูงานเกี่ยวกับภัยพิบัติ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับภัยพิบัติ และตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่มีผลในเชิงลบ คือ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนและจำนวนพื้นที่ทำการเกษตร ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติของเกษตรกร ได้แก่ 1) เกษตรกรขาดการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ 2) ขาดการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างแนวคันดิน/กล่องหิน เพื่อเป็นแนวป้องกันการพังทลาย 3) เมื่อเกิดภัยได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐล่าช้า และเกษตรกรมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) เสนอให้มีการอบรมเกี่ยวกับการรับมือกับภัยพิบัติ หรือให้ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ 2) การประสงค์ให้ภาครัฐช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ 3) เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐมีการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน ทันต่อเหตุการณ์
Description: Master of Science (Master of Science (Agricultural Extension and Rural Development))
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1213
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201433006.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.