Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1612
Title: PARTICIPATORY CLASSIFICATION OF FOREST AREAAT BAN NA KIAN, NA KIAN SUB-DISTRICT,OMKOI DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
การจำแนกการใช้พื้นที่ป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมบ้านนาเกียนตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Phromwarong Khuanwang
พรหมวรงค์ เขื่อนวัง
Kriangsak Sri-ngernyuang
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
Maejo University
Kriangsak Sri-ngernyuang
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง
kriangsa@mju.ac.th
kriangsa@mju.ac.th
Keywords: การใช้ที่ดิน
การมีส่วนร่วม
ที่ดินป่าไม้
บ้านนาเกียน
land use
participation
forest land
Ban Na Kian
Issue Date:  27
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to : 1) classify land use in the area of Royal Highland Agricultural Development Station Project, Ban Na Kian, Chiang Mai province, and 2) find a guideline for the management of appropriate forest land use of Ban Na Kian community, Na Kian sub-district, Omkoi district, Chiang Mai province.  Geographic information system (GIS) was used for the classification and analysis of the appropriateness under land use measures in watershed quality class.  Obtained data were discussed in a small group meeting with the target group of this study for finding the guideline. Results of the study revealed that Ban Na Kian community covered an area of 11,737.87 rai, with an altitudinal range between 1,113 and 1,666 meters.  There were 6 types of land use there : 1) forest area, 2) permanent arable area, 3) swidden farm area, 4) natural rehabilitation forest area, 5) project experimental study area, and 6) village area and buildings (63.75, 15.85, 9.78, 4.68, 3.68, and 3.31 percent, respectively).  The appropriateness of land use measures in watershed quality class accounted for 79.33 percent.  Most of the unsuitable land use was located in the watershed area level 3, 2 and 1, respectively.  Besides, it was found that it was the most common type of land use in swidden cultivation.  The guideline for the management of appropriate forest land use emphasized on the conservation of the forest area under rules and penalties for violators.  The management of forest resource in the area was done together with the modification of high-yielding rice varieties.  This was to reduce the swidden area for planting upland rice most of which were located on steep slopes.  In other words, it should be modified to be an integrated agricultural area.  This had resulted in more green spaces, reduction of the impacts of inappropriate land use, and food security to the community.  Also, there was the promotion of appropriate cash crop planting in the area like coffee for supplementary income generating.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านนาเกียน จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อหาแนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ที่เหมาะสมของชุมชนบ้านนาเกียน ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในการจำแนกการใช้ที่ดินและวิเคราะห์ความเหมาะสมของการใช้ที่ดินของชุมชนตามมาตรการการใช้ที่ดินในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับกลุ่มเป้าหมายของการวิจัย เพื่อหาแนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านนาเกียน ตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,113-1,666 เมตร มีพื้นที่จำนวน 11,737.87 ไร่ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) พื้นที่ป่า 2) พื้นที่ทำกินถาวร 3) พื้นที่ไร่หมุนเวียน 4) พื้นที่ป่าฟื้นฟูตามธรรมชาติ 5) พื้นที่ศึกษาทดลองของโครงการ 6) พื้นที่หมู่บ้านและสิ่งปลูกสร้าง คิดเป็นร้อยละ 63.75  15.85  9.78  4.68  3.68  และ 3.31 ตามลำดับ ซึ่งการใช้ที่ดินของชุมชนตามมาตรการการใช้ที่ดินในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ มีความเหมาะสม ร้อยละ 79.33 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 20.67 โดยการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3, 2 และ 1 ตามลำดับ และพบว่าเป็นการใช้ที่ดินประเภทไร่หมุนเวียนมากที่สุด โดยชุมชนบ้านนาเกียน มีแนวทางในการจัดการการใช้ที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ให้เหมาะสม โดยมุ่งเน้นอนุรักษ์และปกป้องพื้นที่ป่าที่มีอยู่ให้เป็นต้นน้ำลำธาร และแหล่งอาหารของชุมชน ด้วยการกำหนดกฎ ระเบียบ และบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ของชุมชน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เพื่อลดพื้นที่ไร่หมุนเวียนสำหรับปลูกข้าวไร่ สำหรับพื้นที่ทำกินถาวรและไร่หมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลาดชันสูง ควรปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบผสมผสาน ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ลดผลกระทบจากการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชุมชน โดยส่งเสริมพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพและเหมาะสมกับพื้นที่ ได้แก่ กาแฟ ซึ่งให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเมื่อปลูกใต้เรือนยอดป่าธรรมชาติ สร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน ส่งเสริมให้คนอยู่คู่กับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1612
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6101417008.pdf6.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.