Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1628
Title: MEDIA NEEDS FOR AGRICULTURAL EXTENSION OF YOUNG SMART FARMERS IN UPPER NORTHERN THAILAND
ความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่  (YOUNG SMART FARMERS) ในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย
Authors: Teetawat Purintrapibal
ธีร์ธวัช ปุรินทราภิบาล
Phutthisun Kruekum
พุฒิสรรค์ เครือคำ
Maejo University
Phutthisun Kruekum
พุฒิสรรค์ เครือคำ
chawasun@mju.ac.th
chawasun@mju.ac.th
Keywords: ความต้องการสื่อ
สื่อทางการเกษตร
เกษตรกรรุ่นใหม่
ส่งเสริมการเกษตร
media needs
agricultural media
young smart farmer
agricultural extension
Issue Date: 2023
Publisher: Maejo University
Abstract: The objectives of this study were to investigate: 1) socio-economic attributes of smart farmers; 2) exposure/perception and media needs for agricultural extension of the smart farmers; 3) factors effecting media needs for agricultural extension; and 4) problems encountered/suggestions about agricultural communication of the smart farmers. A set of online was used for data collection administered questionnaires with 270 young smart farmers passing the young smart farmer training in upper northern Thailand. Obtained data were analyzed by using descriptive statistics: percentage, mean and standard deviation and linear multiple regression was also conducted. Results of the study revealed that more than one-way of the respondents were male, 37.66-year-old on average and bachelor’s degree graduates. Almost one-way of the respondents were married with 4 family members on average. The respondents had 14.62 rai of farmland each on average and they earn an income form it for 233,771.76 baht per year on average (120,674.01 baht/year of the investment). The respondents were members of the young smart farmers for 3 year on average. In 2021, they attended training/educational trip 3 times and contacted concerned personal 3 times. The sent agricultural information source (x̄=3.55). Besides, the respondents had a highest level of trust in agricultural extension workers. There were 14 channels of information perception but the respondents perceived agricultural it at a moderate level (x̄=3.09). However, they perceived agricultural information though online media most. Media needs for agricultural extension was found at a high level (x̄=4.05). this was in terms of needs for that following: new/information (x̄ =4.32), particularly on marketing (skill in entrepreneurship, raw material finding, distribution channel and online market) and agricultural communication (x̄ =3.78), particularly on university coordination, access to research data sources, and smart farmers incubation center, respectively.   According to the hypothesis testing, there was a positive relationship between agricultural information perception and media needs for agricultural extension of young smart farmers with a statistical significance level at 0.01 meanwhile, educational attainment and media channels had a positive relationship with the media needs with a statistical significance level at 0.05. Problem encountered in agricultural communication were found at moderate level (x̄ =3.10). Find also showed that the government policy was not responsive to needs of farmer. also, there was little modern information about agriculture and lack of insight data from agricultural extension workers. For suggestions, agricultural information must be screened in terms of connection, up-to-date, and reliability. Besides, it should have knowledge/learning exchange between smart farmers and agricultural extension workers.
การสื่อสารเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมการเกษตรซึ่งการส่งเสริมการเกษตรจำเป็นจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยนี้จึงมีวัตุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรรุ่นใหม่ 2) เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ข่าวสาร และความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสื่อสารการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ ในภาคเหนือตอนบน โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบนเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน ซึ่งผ่านการอบรมเป็น Young Smart Farmer เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่เกินครึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.66 ปี เกือบครึ่งมีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานทางการเกษตรเฉลี่ย 3 คนต่อฟาร์ม มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 14.62 ไร่ เกษตรกรรุ่นใหม่มีรายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 233,771.76 บาทต่อปี ใช้เงินลงทุนในการทำการเกษตรเฉลี่ย 120,674.01 บาทต่อปี เข้าเป็นสมาชิก Young Smart Farmer เฉลี่ยได้ 3 ปี ในปี พ.ศ. 2564 มีการเข้าร่วมอบรมและศึกษาดูงานในด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เฉลี่ย 3 เรื่อง เป็นสมาชิกกลุ่มหรือเครือข่ายเฉลี่ย 2 กลุ่ม เข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเกษตรเฉลี่ย 3 แหล่ง มีความเชื่อถือต่อแหล่งข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55) ซึ่งเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ความเชื่อถือต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด มีช่องทางการใช้สื่อในการรับข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ย 14 ช่องทาง เกษตรกรรุ่นใหม่มีการรับรู้ข่าวสารทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09) โดยมีการรับรู้ข่าวสารจากสื่อออนไลน์มากที่สุด เกษตรกรรุ่นใหม่มีความต้องการสื่อทางการเกษตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05) โดยมีความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05) โดยแบ่งเป็นความต้องการด้านข่าวสาร (ค่าเฉลี่ย 4.32) โดยเฉพาะข่าวสารด้านการตลาด (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการเกษตร การจัดหาวัตถุดิบและช่องทางการจำหน่าย กลยุทธ์การขายสินค้าให้น่าสนใจบนตลาดออนไลน์) และความต้องการด้านสื่อการเกษตร (ค่าเฉลี่ย 3.78) โดยเฉพาะสื่อเฉพาะกลุ่ม (ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย การเข้าถึงแหล่งข้อมูลงานวิจัย ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่) มากที่สุด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ ระดับการศึกษา และช่องทางการใช้สื่อในการรับข่าวสารทางการเกษตร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางกลับกัน ระยะเวลาในการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้เกษตรกรรุ่นใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) ให้ความสำคัญไปที่ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะนโยบายภาครัฐไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ข่าวสารทางการเกษตรที่ทันสมัยมีจำนวนน้อย และขาดการให้ข้อมูลเชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร โดยเกษตรกรรุ่นใหม่มีข้อเสนอแนะ เห็นควรให้ข่าวสารมีการคัดกรองความถูกต้อง ให้รายละเอียดครบถ้วน มีความน่าเชื่อถือ และทันสมัย และควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรรุ่นใหม่กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพิ่มขึ้น
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/1628
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6401333005.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.