Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2205
Title: ORGANIC TOURISM MODEL OF BAN HUAI KHAMIN, MAE NA CHON SUBDISTRICT,MAE CHAEM DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCEIN THAILAND 
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น  ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Anaporn Wongsathan
อนาภรณ์ วงค์สถาน
Yutthakarn Waiapha
ยุทธการ ไวยอาภา
Maejo University
Yutthakarn Waiapha
ยุทธการ ไวยอาภา
yutthakarn@mju.ac.th
yutthakarn@mju.ac.th
Keywords: รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเกษตรอินทรีย์
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์
Organic Tourism Model
Organic Tourism Management
Organic Tourism
Issue Date: 2024
Publisher: Maejo University
Abstract: The purposes of this study were: 1)  To study the potential of organic tourism at Ban Huai Khamin. 2)  To evaluate the Organic tourism  destination management. 3)  To determine the organic tourism model of Ban Huai Khamin, Mae Na Chon Subdistrict, Mae Chaem District, Chiang Mai Province, Thailand. The study was mixed methods research used both quantitative and qualitative methods. The instruments used in this  research were questionnaire. The data was collected from 63 members of the organic agriculture community enterprise group in Ban Huai Khamin by purposive sampling and analyzed the data with statistical methods including descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient and analyzed the data with the Statistical Package for the Social Sciences Program. The findings indicated the overall the potential of organic tourism was at a medium level. Considering each aspect, it was found that the organic agriculture resource was a high potential. Followed by the organic tourism marketing was a medium potential, tourism attractions services was a medium potential, and tourism carrying capacity was a medium potential respectively. In addition, the research found that the overall the evaluate the tourism destination management was at a high level. Considering each aspect, it was found that the attraction was a highest importance. Followed by the activities was a high importance, accessibility was a high importance, accommodation was a high importance respectively. However, the research was found the amenities was a medium importance. Determining the Organic Tourism Model of Ban Huai Khamin, Mae Na Chon Subdistrict, Mae Chaem District, Chiang Mai Province, Thailand. Hypothesis tested finding indicated that There was significant between the organic tourism destination management and the potential of organic tourism were statistically significant at 0.05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อการพัฒนา ผู้วิจัยกำหนดประชากรโดยใช้วิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ไปที่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งหมด 63 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์กับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่า ด้านทรัพยากรทางการเกษตรอินทรีย์มีศักยภาพมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์มีศักยภาพในระดับปานกลาง ด้านการบริการท่องเที่ยวมีศักยภาพในระดับปานกลาง และ ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวมีศักยภาพในระดับปานกลาง ตามลำดับ พบว่าสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้นมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์อยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านสิ่งที่ดึงดูดใจ (Attraction) มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) ด้านความสะดวกในการเดินทาง (Accessibility) ด้านการบริการที่พัก (Accommodation) ตามลำดับ ส่วน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) มีความสำคัญปานกลาง จากนั้น กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์บ้านห้วยขมิ้น ผลการวิเคราะห์สมมติฐานการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ส่งผลต่อศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ในระดับสูง (Sig.=0.000, r=0.713) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2205
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6509302002.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.