Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2327
Title: ศึกษาทัศนคติของนักศึกษาปีสุดท้าย ต่อการเรียนการสอนในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
Other Titles: A study of the atitudes of senior students to the programme of instruction and study at MIAT
Authors: เทพ พงษ์พานิช และคณะ
Keywords: การเรียนการสอน
การสำรวจทัศนคติ
ทัศนคติต่อการเรียนการสอน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
Issue Date: 1981
Publisher: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Abstract: การดําเนินงานวิจัยศึกษาทัศนคติของนักศึกษาปีสุดท้ายต่อการเรียนการสอนในสถาบัน เทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงทัศนคติถึงระบบการเรียนการสอนของนัก ศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เพื่อนําไปซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุง แก้ไขหลักสูตรสาขาต่าง ๆบุคคลากรและการบริหารการศึกษาของสถาบัน โดยใช้แบบสอบถามในการดําเนินการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาปีสุดท้าย ประจําปีการศึกษา 2523-2524 ทุกสาขาในสถาบัน ซึ่งมีระยะเวลาในการดําเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม 2524 - กันยายน 2524 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การสอนและวิชาที่สอนในหลักสูตรขณะนี้ในสถาบันนั้น อยู่ในระดับ ปานกลาง 2. เกี่ยวกับผู้สอนอยู่ในระดับ ปานกลางเช่นกัน 3. เกี่ยวกับอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับ ปานกลาง 4. เกี่ยวกับตํารา, หนังสือและอุปกรณ์การเรียนอื่น ๆ อยู่ในระดับต่ำ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง 6. วิชาที่เรียนแล้วมีปัญหาและอุปสรรคมากที่สุดของนักศึกษาสาขาพืชไร่ และสาขา พืชสวนประดับ คือวิชา ศท.308 พันธุศาสตร์ประยุกต์ สาขาพืชผัก คือวิชา ทพ.421 การป้องกันและกาจัดโรคพืช สาขาสัตว์ปีก คือวิชา ทส.424 เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก สาขาบริหารธุรกิจฯ นั่นคือ ธก. 413 การเงินธุรกิจการเกษตร 7. วิชาที่เรียนแล้วนักศึกษาคิดว่ามีประโยชน์มากที่สุดนั้น สาขาพืชไร่คือวิชา ทพ.421 การป้องกันและกําจัดโรคพืช, สาขาพืชสวนประดับคือ ทพ. 552-553-554 เพช สวนเฉพาะ (กล้วยไม้), สาขาพืชผัก คือวิชา ทพ. 420 การป้องกันและกําจัด ศัตรูพืช, สาขาสัตว์ปีก คือวิชา ทส. 320 การจัดการฟาร์มสัตว์ปีก และสาขา บริหารธุรกิจฯ คือวิชา อก. 407 กฎหมายเกษตร 8. วิชาที่นักศึกษาคิดว่าเรียนแล้วไม่มีประโยชน์/สมควรที่จะแก้ไขมากที่สุดนั้น สาขา พืชไร่ คือ ศท. 411 กระบวนการหลังเก็บเกี่ยว, สาขาพืชสวนประดับมี 3 วิชา เท่ากันคือ ศท. 303 การปกครองและพัฒนาสังคมไทย, ศท. 308 พันธุศาสตร์- ประยุกต์ และ ศท. 310 วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจฯ, สาขาพืชผักมีมากที่สุดเท่า กัน 5 วิชาคือ ศท. 306 สรีรวิทยาของพืชประยุกต์, ศท. 308 พันธุศาสตร์ประยุกต์ ศท.411 กระบวนการหลังเก็บเกี่ยว, ทพ.421 การป้องกันและกําจัดโรคพืช และ ทพ.472 การควบคุมสิ่งแวดล้อมในทางพืชสวน, สาขาสัตว์ปีกคือ วิชา ศท. 301 วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจฯ, สาขาบริหารธุรกิจฯ คือวิชา ศท. 411 กระบวน การหลังเก็บเกี่ยว 9. สําหรับขอแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ทั่ว ๆ ไปนั้น อันดับที่ 1 คือเรื่อง "ผู้สอนขาดประสบการณ์ในการถ่ายทอดวิชา" และ อันดับรองลงไปคือ "ควรปรับปรุง แก้ไขหลักสูตรและเนื้อหาวิชา
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/2327
Appears in Collections:RAE-Technical Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RM-2566-0029-348593.PDF1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.