Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/420
Title: SUCCESS FACTORS OF THE ROYAL PROJECT HER ROYAL HIGHNESS PRINCESS MAHA CHAKRI SIRINDHORN: CASE STUDY JAO PHOR LUANG UPPATHAM 2, BORDER PATROL POLICE SCHOOL, PHRAO DISTRICT, CHIANG MAI PROVINCE
ปัจจัยความสำเร็จของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  กรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Authors: Arinchaya Wisatwatthana
อริญชญา วิศัทวัฒนา
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: โครงการตามพระราชดำริ
ปัจจัยความสำเร็จ
การบริหารจัดการโรงเรียน
The Royal Project
Success Factor
School Management Administration
Issue Date: 2020
Publisher: Maejo University
Abstract: This study was conducted to investigate : 1) context of Border Patrol Police School under the Royal Patronate of Jao Phor Lung Uppatham 2, Nam Phrae sub-district, Phrao district, Chiang Mai province and 2) success factors of lunch meal project under The Royal Project Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindron, Jao Phor Lunag Uppatham 2, Border Patrol Police School, Nam Phrae sub-disrict, Phrao district, Chiang Mai province.  Data were collected through observation both inside and outside the classroom based on teaching and learner development activities.  Also, in-depth interview was conducted with the school director as well as teachers/students and concerned agencies based on the school operation, curriculum and instruction, teacher development, community participation and implementation of the Royal Initiatives Project. Results of the study revealed that the school was located at moo 6, Maela Ngong village, Nam Phrae sub-district, Phrao district, Chiang Mai province.  In 2018, the school had 94 students – 10 kindergarten school students and 84 elementary school students and they were from Karen ethnic group and local families.  Out of 94, there were 45 students who were boarding school student since their houses were far from the school.  Most of sixth year elementary school students there (95%) wanted to pursue their study each year.  The headmaster was a patrol policeman, four teachers were also patrol policeman and one teacher was a civilian. According to an analysis of success factors of the school lunch meal project, the following were found : 1) the project was responsive to basic need for food of the the students and their guardians; 2) there was an ideal symbol; and 3) the school adopted the philosophy of sufficiency economy.  Regarding task factor : 1) it was found that 3 aspects of mission and duty were security support in accordance with role/duty of patrol police; provision of basic education service; and development of children/community quality of life; 2) the school was located on a flat plain near the foot of the mountain and there was a space for crop cultivation and animal rearing ; and 3) the supervision line structure and legitimate authority were fair.  In terms of school personnel, the following were found : 1) most of the new patrol police teaches were from the “Kuru Thayad” project; 2) leadership scheme was used for body of knowledge transfer from generation to generation together with the adoption of the sublime states of mind : loving kindness, compassion, sympathy, and equanimity.  On the basis of managerial administration factor, the following were found : 1) creating common vision of teachers, guardians, and the school committee; 2) learning through practice of both successful and fail tasks; 3) focusing on student learning through actual practice; 4) focusing on the instillation of responsibility, tolerance and discipline; 5) putting the importance on students and their guardians which all of them were given a chance to join or design school activities; and 6) gradual extension of school activities to the community. With regards to outcomes of the school lunch meal project, the following were found : 1) the students were healthy since they were taken good care by their teachers and district public health personnel in terms of nutrition and sanitary; 2) the teacher learnt new thing such as student learning achievement, knowledge exchange with colleagues, and coordination with other government agencies; and 3) the guardians and the community had a sense of belonging of the school because they always participated in school activities.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสังเกตกิจกรรมทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนที่เป็นวิธีปฏิบัติของครูและนักเรียนในด้านการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้อำนวยการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2 รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านการดำเนินงานของโรงเรียน หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ การพัฒนาครู และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2 ตั้งอยู่หมู่บ้านแม่ละงอง หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2561 มีจำนวนนักเรียนรวม 94 คน มีทั้งนักเรียนที่เป็นชนเผ่ากะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาพุทธ และชนพื้นเมือง แยกเป็นนักเรียนอนุบาล รวม 10 คน และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 84 คน ในจำนวนนี้มีนักเรียนบ้านไกลที่พักค้างในโรงเรียน จำนวน 45 คน สัดส่วนของนักเรียนที่ศึกษาต่อเมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประมาณร้อยละ 95 ของนักเรียนที่จบการศึกษาแต่ละปี มีข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ และครูผู้สอนจำนวน 4 คน และมีครูพลเรือน จำนวน 1 คน ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเด็ก และครูอัตราจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 1 คน การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของโครงการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจัยด้านโครงการ พบว่า 1) โครงสามารถตอบสนองความต้องการที่เป็นพื้นฐานของนักเรียน ด้านอาหาร และตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง 2) การมีสัญลักษณ์เชิงอุดมคติ 3) การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในโรงเรียน ปัจจัยด้านงาน พบว่า 1) ภารกิจ และหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ บทบาทการเป็นหนึ่งสนับสนุนรักษาความมั่นคง ตามหน้าที่ของตำรวจตระเวนชายแดน บทบาทการเป็นหน่วยให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหน้าที่ครูทั่วไป บทบาทเป็นหน่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและชุมชน 2) สภาพด้านภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียน ภูมิประเทศเป็นทั้งที่ราบลุ่ม และที่ราบเนินเขา มีเนื้อที่พอสมควรสามารถจัดสรรพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ได้ 3) โครงสร้าง มีสายการบังคับบัญชาใช้อำนาจอันชอบธรรมตามกฎหมายบังคับบัญชา ปัจจัยด้านบุคลากร พบว่า 1) ครูตำรวจตระเวนชายแดน ครูใหญ่ และครูตำรวจตระเวนชายแดนรุ่นใหม่ ๆ มาจากการสร้างคุรุทายาทเพื่อให้กลับมาทำงานในโรงเรียน 2) ภาวะผู้นำ มีการนำแบบแผนของผู้นำที่ใช้ความสัมพันธ์ การชี้แนะ การถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เห็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งยึดหลักพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทางในการปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม โดยมีหลักคิดสำคัญคือทุกคนในโรงเรียนคือญาติกัน เมื่อมีปัญหาจะนำเข้าที่ประชุมเพื่อให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาอย่างเต็มใจ ด้านพฤติกรรมของครู ครูมีความเพียรและมุ่งมั่นที่จะต่อยอดความรู้และผลผลิต ทำให้เกิดการต่อยอดความศรัทธาของผู้นำชุมชน และหน่วยงานร่วมสนองงานตามโครงการทำให้เกิดผลลัพธ์คือมีความร่วมมือที่เข้มแข็งและยั่งยืน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ พบว่า 1) สร้างวิสัยทัศน์ร่วมของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา 2) เรียนรู้งานจากการปฏิบัติ ทั้งจากงานที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลว 3) เน้นการเรียนรู้ของนักเรียนจากการปฏิบัติจริง 4) เน้นพัฒนาความรับผิดชอบ อดทน และความมีระเบียบวินัย 5) การให้ความสำคัญกับนักเรียนและผู้ปกครอง โดยโรงเรียนได้เปิดโดอกาสให้ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม 6) ขยายงานในโรงเรียนและขยายสู่ชุมชนแบบค่อยเป็นค่อยไป ผลที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน พบว่า 1) นักเรียน มีสุขภาพอนามัยที่ดี เนื่องจากได้รับการดูแลจากครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ได้รับประทานอาหารอย่างเพียงพอ ถูกสุขลักษณะ 2) ครู เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น การเรียนรู้เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก การแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อร่วมวิชาชีพ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการอื่น 3) ผู้ปกครองและชุมชน รู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนมากขึ้น เนื่องจากได้ร่วมสร้าง และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/420
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5801417023.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.