Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/801
Title: LOCAL WISDOM CONSERVATION AND  INHERITANCE ON LAWA FOOD OF  BAN LA-OOP COMMUNITY,  HUAI HOM SUB-DISTRICE,  MAE LA NOI DISTRICE,  MAE HONG SON PROVINCE
การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารละว้า  ของชุมชนบ้านละอูบ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Authors: Juthamas Makham
จุฑามาศ มะขาม
Phanit Nakayan
ผานิตย์ นาขยัน
Maejo University. Agricultural Production
Keywords: วิถีชีวิต
ภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น
ชนเผ่าละว้า
การอนุรักษ์
way of life
local food wisdom
Lawa ethnic group
conservation
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This qualitative study was conducted to investigate: 1) community and social way of life, culture, tradition and body of knowledge on Lawa food local wisdom in Ban La-Oop community and 2) guidelines for the conservation of Lawa food local wisdom in Ban La-Oop community, Mae Hong Son province. The sample group 40 persons consisted of 15 formal/informal community leaders, 5 senior citizens, aged 60 years old and above and 20 food entrepreneurs in Ban La-Oop community. Data were collected through observation form, interview schedule and focus group discussion. Obtained data were analyzed by using typological analysis, constant comparisons and content analysis on the basis of information organizing, interpretation, and result conclusion. Results of the study revealed that Ban La-Oop was a simple rural community and people there still continually consumed Lawa food which was part of their ritual ceremony of the community.  The body of knowledge on Lawa food local wisdom there could be classified into 15 food types: 4 types of curry, 2 types of pound food, 1 type of chili paste, 2 types of roasted food, 1 type of steam food and 1 type of braised food.  “To Sa Buek” was the food showing identity and wisdom of Lawa food inherited from generation to generation. Lawa food mostly had raw materials gained from local plants and natural meat as well as in the community market. Food cooking there was mostly simple and not time consuming.  Regarding the conservation and inheritance of Lawa food local wisdom, it was found to be through ancestors, household members, ritual ceremonies and various traditions in the community.
การศึกษาวิจัยเรื่องการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารละว้าของชุมชน  บ้านละอูบในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพวิถีชีวิตสังคม ชุมชน ประเพณี วัฒนธรรม และองค์ความรู้ภูมิปัญญาอาหารละว้าของชุมชนบ้านละอูบ 2) เพื่อค้นหาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาหารละว้าของชุมชนบ้านละอูบ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการทำวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 40 คนประกอบด้วย ผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จำนวน 15 คน ผู้อาวุโสที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ประกอบอาหารบ้านละอูบ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) ด้วยการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) การวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล (Constant Comparison) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการจัดระเบียบข้อมูล ตีความ และสรุปผลการศึกษาเพื่อสนับสนุนข้อมูลจากการสำรวจ ผลวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านละอูบยังมีวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนที่เรียบง่าย เป็นสังคมชนบท ยังคงมีการบริโภคอาหารละว้าอย่างต่อเนื่อง และใช้ประกอบในพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมของท้องถิ่น องค์ความรู้ภูมิปัญญาอาหารละว้าของชุมชนบ้านละอูบ สามารถจำแนกประเภทอาหาร ได้ 15 ชนิด แยกเป็น ประเภทแกง 4 ชนิด ประเภทยำ 4 ชนิด ประเภทตำ 2 ชนิด ประเภทน้ำพริก 1 ชนิด ประเภทหมก 2 ชนิด ประเภทนึ่ง 1 ชนิด และประเภทเคี่ยว 1 ชนิด อาหารที่แสดงถึงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ โต๊ะสะเบื้อก อาหารละว้าส่วนมากมีวัตถุดิบมาจากพืชท้องถิ่นและเนื้อสัตว์จากธรรมชาติ และตลาดในชุมชน ที่มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล การปรุงอาหารส่วนใหญ่ใช้ในการแกง ยำ ตำ ที่มีการปรุงเรียบง่ายและใช้เวลาไม่นาน สำหรับการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาอาหารละว้าพบว่า ชุมชนมีการสืบทอดจากบรรพบุรุษและผ่านสมาชิกในครัวเรือนและเรียนรู้ผ่านพิธีกรรม ประเพณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
Description: Master of Science (Geosocial Based Sustainable Development)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/801
Appears in Collections:Agricultural Production

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6201417001.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.