Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/839
Title: THE DEVELOPMENT OF CREATIVE CULTURAL  TOURISM IN THE OLD CITY OF CHIANGMAI
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์  ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่
Authors: Kornkanok Hongnual
กรกนก หงษ์นวล
Winitra Leelapattana
วินิตรา ลีละพัฒนา
Maejo University. School of Tourism Development
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
เขตเมืองเก่าเชียงใหม่
cultural tourism
creative tourism
the old city of Chiang Mai
Issue Date: 2021
Publisher: Maejo University
Abstract: This study aimed to assess potential of cultural tourist spots, analyze tourist behaviors and motivation, and develop a model of creative cultural tourism in the city of Chiang Mai.  An In-depth interview schedule was used for data collection conducted with 16 persons who were personnel of public or private sector, academics, community leaders, and people in an organization of people’s network.  Also, a set of questionnaires was administered with 400 Thai and foreign tourists visiting in the city of Chiang Mai (Sri Phum, Phra Sing, Haiya, Changmoi and Changkhlan district). Results of the study revealed that cultural tourist spots in the city of Chiang Mai were historically valuable.  Tourism activities there were diverse including temples, historical sites, market district, old community, cultural/traditional festival, etc.  There was the facilitation of safe travelling and direction signs; however, there were problems in street, electric cable, shop sign on the sidewalk and transportation system which was not convenient for the disabled.  As a whole, the potential of the cultural tourist spots in the city of Chiang Mai were found at a high level.  This included the following: 1) value of tourist spots; 2) community participation; 3) holding tourism activities and experiences; and 4) area management of accommodate tourists focusing on safety.  However, the tourist respondents claimed that there was inappropriate management in terms of road, transportation route, walking path, and cleanliness of traffic surface.  Regarding tourist behaviors and motivation, it was found that most of the tourist respondents visited in the city of Chiang Mai for relaxation (4 – 6 days) and they stayed in hotel.  Friends or acquaintances were the main source used for planning.  The following were motivation of the tourist respondents: status or reputation of cultural tourist spots; attractive cultural/traditional festivals, and diverse local foods.  The following were top three popular cultural tourist spots: 1) Sunday walking street, 2) Phra Sing Woramahaviharn temple and 3) Pratu Chiangmai market area.  Besides, it was found that there was a relationship between potential of cultural tourist spots in the city of Chiang Mai and word-of-mouth of tourists visiting in the city of Chiang Mai. Regarding the model of creative cultural tourism in the city of Chiang Mai, it anchored on “Creative Chiang Mai Old Town” This was because it was the old quarter area according to municipal ordinance of Chiangmai municipality proclaimed in 2016.  Some important components in the city of Chiang Mai which still remained were inner city wall, outer city wall, moat, temples and various archeological sites.  Local community areas there were working areas of strong people networks such as Muang Rak Chiangmai People Network. In the city of Chiang Mai still be a living area attracting tourists to visit many cultural attractions there.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิเคราะห์พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว และพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เครื่องมือในการวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บรวบรวมข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้นำชุมชนและองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 16 คน และแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญกับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีภูมิ ตำบลพระสิงห์ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย และตำบลช้างคลาน จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผลการศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ พบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ กิจกรรมการท่องเที่ยวมีหลากหลาย ทั้งวัด โบราณสถาน ย่านตลาด ชุมชนเก่าแก่ งานวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ เช่น ยี่เป็ง ปี๋ใหม่เมือง มีการอำนวยความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว ป้ายสัญลักษณ์/ป้ายบอกทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม แต่ขณะเดียวกันยังคงมีปัญหาในเรื่องถนน สายไฟ ป้ายร้านค้าที่รุกล้ำทางเดินเท้า ระบบขนส่งต่าง ๆ ไม่อำนวยความสะดวกแก่กลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น สำหรับผลการประเมินจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว ในภาพรวมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดกิจกรรมและประสบการณ์การท่องเที่ยว และมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการรองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะความปลอดภัยในการท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวประเมินว่า ถนน เส้นทางคมนาคม เส้นทางเดินเท้า ความสะอาดของพื้นผิวจราจร ทางเดินเท้าในชุมชนยังมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เพศหญิง มีอายุไม่เกิน 30 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน/หน่วยงานเอกชน มีรายได้ระหว่าง 15,001 – 30,000 บาท เข้ามาท่องเที่ยวในเขตเมืองเก่าครั้งแรกเพื่อพักผ่อนและท่องเที่ยว เป็นระยะเวลา 4 – 6 วัน พักโรงแรม แหล่งข้อมูลที่สำคัญใช้ในการวางแผนการท่องเที่ยวคือ เพื่อนหรือคนรู้จัก แรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่สำคัญคือ สถานภาพหรือชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม อาหารท้องถิ่นมีรสชาติที่ถูกใจและหลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยอดนิยม 3 ลำดับแรกที่นักท่องเที่ยวต้องการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ถนนคนเดินวันอาทิตย์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และย่านตลาดประตูเชียงใหม่ นอกจากนี้พบว่า ศักยภาพของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ต่อการบอกต่อและแนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ให้บุคคลอื่นรับรู้และเข้ามาท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเก่าเชียงใหม่คือ “พื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่สร้างสรรค์” เนื่องด้วยเป็นพื้นที่เมืองเก่า ตามประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ และเป็นพื้นที่ตามเทศบัญญัติ เทศบาลนครเชียงใหม่ ในเขตเมืองเก่า พ.ศ. 2557 ที่ปัจจุบันยังคงหลงเหลือร่องรอยของแหล่งอารยธรรม และองค์ประกอบที่สำคัญของเมือง ได้แก่ กำแพงเมืองชั้นใน กำแพงเมืองชั้นนอก คูเมือง แจ่งเมืองรวมทั้ง วัด โบราณสถานต่าง ๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั้งภายในและภายนอกเขตพื้นที่เมืองเก่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชน และพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงเมืองเชียงใหม่ ในช่วงสมัยต่าง ๆ ที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็นพื้นที่ที่มีชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถสืบสานภูมิปัญญา ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เป็นพื้นที่ที่มีการทำงานของเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เช่น เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ อีกทั้งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน สถานประกอบการ สถานศึกษา หน่วยงานราชการ ถึงแม้ว่าสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ก็ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตและนักท่องเที่ยวยังคงสัมผัสได้ถึงความเป็นเมืองเก่าผ่านการเดินเที่ยวชมเมือง การเข้ามากราบ สักการะวัด โบราณสถาน และการใช้ชีวิตของชุมชนในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ เป็นต้น
Description: Doctor of Philosophy (Doctor of Philosophy (Tourism Development))
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาการท่องเที่ยว))
URI: http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/839
Appears in Collections:School of Tourism Development

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5909501001.pdf12.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.